ชุดการสอนเรื่อง “ การซื้อที่อยู่อาศัย ” นี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อจะช่วยครูผู้สอนวิชาการเงินส่วนบุคคลชั้นปวช.2 ซึ่งในเรื่องที่จัดทำเป็นชุดการสอนเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยตามเนื้อที่นักเรียนควรจะต้องทราบ นำมาจัดทำเป็นชุดการสอนนี้ขึ้นเพื่อสรุปเนื้อหาประกอบกับวิธีการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนักเรียนจะได้ปฏิบัติจริงสามารถค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง และเกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง
ชุดการสอนนี้จัดเป็นแบบศูนย์การเรียน รายละเอียดการใช้ชุดการสอนได้นำมาเสนอไว้ในคู่มือครูแล้ว ข้าพเจ้าจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนเรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย” นี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในวิชาการเงินส่วนบุคคล
สารบัญ
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุค
เรื่อง “ การซื้อที่อยู่อาศัย ” หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
แผนการจัดการเรียนรู้ 1
คู่มือครู 4
คู่มือนักเรียน 7
ชุดการสอน 9
แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน 17
เอกสารอ้างอิง 20
แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา การเงินส่วนบุคคล รหัสวิชา 2201 - 0006 ปวช. 2 หน่วยที่ 6
ชื่อหน่วย การซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 5 คาบ
หัวข้อเรื่อง การซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 2 คาบ
แผนการสอน อาจารย์ธาราทิพย์ บัวทวน สอนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ
.............................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน ประเภทของที่อยู่อาศัยมีหลายชนิด การเลือกที่อยู่อาศัยจะต้องใช้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของเรา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทได้ถูกต้อง
2. นักเรียนระบุหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
3. สาระการเรียนรู้
1. ประเภทของที่อยู่อาศัย
2. หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
4. กิจกรรมการเรียนรู้
1) อธิบายประเภทของที่อยู่อาศัย
1.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
1.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point ประเภทของที่อยู่อาศัยมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูอธิบาย Power Point บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์ แฟลต คอนโดมิเนียม สหกรณ์เคหสถาน บ้านเคลื่อนที่
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภาย 10 นาที
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 8 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
1.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนออกมาอภิปรายแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียน ในหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมายใช้เวลา 5 นาทีต่อกลุ่ม
1.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2) อธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
2.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point เรื่องหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้นักเรียนดู
2.3 ครูอธิบาย Power Point หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภายใน 10 นาที
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 2 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงานของกลุ่ม
2.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทน 1 คน อธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
2.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
5. สื่อและแหล่งสาระการเรียนรู้
1.1 ภาพสื่อ Power Point
1.2 หนังสือ เรื่อง การเงินส่วนบุคคล ใบกำหนดงาน 6.1 และ 6.2
1.3 ศูนย์การเรียน เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 2 ศูนย์
6. การวัดผลและประเมินผล
วิธีการวัดผล
1. วัดการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ด้วยการตรวจผลกาอธิบาย ตามใบงานที่ 6.1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบงานที่ 6.2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 107 – 111 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2. ประเมินผลการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 111 - 114 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
7. บันทึกหลังการสอน
ผู้เรียนมีความสนใจทางการเรียนและมีความสนุกสนานในการเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำใบกำหนดงาน และเข้าใจประเภทของที่อยู่อาศัยและหลักในการเลือกที่อยู่อาศัย
คู่มือครู
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ
คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม (ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน ตามข้อเสนอแนะ
แผนผังการจัดชั้นเรียน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะได้รับคนละ 1 ชุด
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน ตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนประกอบกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายบุคคล ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนคนอื่น
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนคนใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
9. หากมีนักเรียนคนใดทำงานช้าจนเกินไป ครูต้องนำนักเรียนออกมาทำกิจกรรมพิเศษ โดยหากิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า
10. ถ้านักเรียนคนใดทำงานได้เร็วจนเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้สำหรับนักเรียนที่เรียนเร็ว
11. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยคนอื่นยังไม่เสร็จก็ให้คนที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์สำรอง
12. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
13. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกคนหรือตัวแทนของนักเรียน
14. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
15. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
16. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน
สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. ครูจะต้องตรวจชุดการสอนให้มีความครบถ้วนทุกกิจกรรม เช่น บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมด้วยกระดาษคำตอบ
บทบาทของครู
1. มีความเป็นกันเอง มีความเห็นอกเห็นใจผู้เรียน สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนใส่ใจให้กำลังใจ สนทนา ไถ่ถาม
2. ครูพูดน้อย และจะเป็นเพียงผู้ประสานงานแนะนำช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น ครูไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของผู้เรียน
3. สนับสนุนให้กำลังใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานแสดงออกอย่างอิสระ และแสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียนแต่คน
4. สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการทำงานให้เป็นไปตามจุดหมายที่วางไว้
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง
.............................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน ประเภทของที่อยู่อาศัยมีหลายชนิด การเลือกที่อยู่อาศัยจะต้องใช้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของเรา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทได้ถูกต้อง
2. นักเรียนระบุหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
3. สาระการเรียนรู้
1. ประเภทของที่อยู่อาศัย
2. หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
4. กิจกรรมการเรียนรู้
1) อธิบายประเภทของที่อยู่อาศัย
1.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
1.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point ประเภทของที่อยู่อาศัยมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูอธิบาย Power Point บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์ แฟลต คอนโดมิเนียม สหกรณ์เคหสถาน บ้านเคลื่อนที่
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภาย 10 นาที
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 8 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
1.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนออกมาอภิปรายแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียน ในหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมายใช้เวลา 5 นาทีต่อกลุ่ม
1.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
2) อธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
2.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point เรื่องหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้นักเรียนดู
2.3 ครูอธิบาย Power Point หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภายใน 10 นาที
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 2 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงานของกลุ่ม
2.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทน 1 คน อธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
2.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
5. สื่อและแหล่งสาระการเรียนรู้
1.1 ภาพสื่อ Power Point
1.2 หนังสือ เรื่อง การเงินส่วนบุคคล ใบกำหนดงาน 6.1 และ 6.2
1.3 ศูนย์การเรียน เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 2 ศูนย์
6. การวัดผลและประเมินผล
วิธีการวัดผล
1. วัดการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ด้วยการตรวจผลกาอธิบาย ตามใบงานที่ 6.1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบงานที่ 6.2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 107 – 111 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2. ประเมินผลการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 111 - 114 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
7. บันทึกหลังการสอน
ผู้เรียนมีความสนใจทางการเรียนและมีความสนุกสนานในการเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำใบกำหนดงาน และเข้าใจประเภทของที่อยู่อาศัยและหลักในการเลือกที่อยู่อาศัย
คู่มือครู
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ
คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม (ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน ตามข้อเสนอแนะ
แผนผังการจัดชั้นเรียน
3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะได้รับคนละ 1 ชุด
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน ตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนประกอบกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายบุคคล ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนคนอื่น
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนคนใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
9. หากมีนักเรียนคนใดทำงานช้าจนเกินไป ครูต้องนำนักเรียนออกมาทำกิจกรรมพิเศษ โดยหากิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า
10. ถ้านักเรียนคนใดทำงานได้เร็วจนเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้สำหรับนักเรียนที่เรียนเร็ว
11. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยคนอื่นยังไม่เสร็จก็ให้คนที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์สำรอง
12. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
13. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกคนหรือตัวแทนของนักเรียน
14. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
15. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
16. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน
สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. ครูจะต้องตรวจชุดการสอนให้มีความครบถ้วนทุกกิจกรรม เช่น บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมด้วยกระดาษคำตอบ
บทบาทของครู
1. มีความเป็นกันเอง มีความเห็นอกเห็นใจผู้เรียน สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนใส่ใจให้กำลังใจ สนทนา ไถ่ถาม
2. ครูพูดน้อย และจะเป็นเพียงผู้ประสานงานแนะนำช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น ครูไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของผู้เรียน
3. สนับสนุนให้กำลังใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานแสดงออกอย่างอิสระ และแสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียนแต่คน
4. สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการทำงานให้เป็นไปตามจุดหมายที่วางไว้
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง
คู่มือนักเรียน
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
1. นักเรียนนั่งตามที่ครูจัดไว้
แผนผังการจัดชั้นเรียน
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและเมื่อทำเสร็จให้นำส่งที่ครู
3. ศึกษาชุดการสอนให้เข้าใจ
4. เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยให้ถามครูผู้สอนทันที
5. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเรียนใส่กระดาษคำตอบส่งครูท้ายชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม
1. หนังสือวิชาการเงินส่วนบุคคล
2. อุปกรณ์การเรียน
บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. อ่านบัตรคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งที่ละขั้นตอนอย่างระมัดระวัง
2. พยายามตอบคำถาม หรืออภิปรายอย่างสุดความสามารถ คำถามที่มีปรากฏไว้ในชุดการสอนไม่ใช่ข้อสอบ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติงาน อภิปรายอย่างจริงจัง ไม่ก่อกวนผู้อื่น และไม่ชักชวนเพื่อให้ออกนอกลู่นอกทาง
4. เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บบัตรทุกอย่าง และสื่อการสอนอื่นให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนคนอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. เมื่อนักเรียนลุกจากศูนย์กิจกรรม ต้องจัดเก้าอี้ให้เรียบร้อยและเปลี่ยนไปยังอีกศูนย์หนึ่งด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
7. เนื่องจากการทำกิจกรรมแต่ละคนมีจำนวนจำกัด และต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอีก นักเรียนต้องตั้งใจทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
1. นักเรียนนั่งตามที่ครูจัดไว้
แผนผังการจัดชั้นเรียน
2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและเมื่อทำเสร็จให้นำส่งที่ครู
3. ศึกษาชุดการสอนให้เข้าใจ
4. เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยให้ถามครูผู้สอนทันที
5. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเรียนใส่กระดาษคำตอบส่งครูท้ายชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม
1. หนังสือวิชาการเงินส่วนบุคคล
2. อุปกรณ์การเรียน
บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. อ่านบัตรคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งที่ละขั้นตอนอย่างระมัดระวัง
2. พยายามตอบคำถาม หรืออภิปรายอย่างสุดความสามารถ คำถามที่มีปรากฏไว้ในชุดการสอนไม่ใช่ข้อสอบ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติงาน อภิปรายอย่างจริงจัง ไม่ก่อกวนผู้อื่น และไม่ชักชวนเพื่อให้ออกนอกลู่นอกทาง
4. เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บบัตรทุกอย่าง และสื่อการสอนอื่นให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนคนอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. เมื่อนักเรียนลุกจากศูนย์กิจกรรม ต้องจัดเก้าอี้ให้เรียบร้อยและเปลี่ยนไปยังอีกศูนย์หนึ่งด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
7. เนื่องจากการทำกิจกรรมแต่ละคนมีจำนวนจำกัด และต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอีก นักเรียนต้องตั้งใจทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว
การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง
เรื่อง การซื้อที่อยู่อาศัย
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 1ประเภทของที่อยู่อาศัย
บ้านเดี่ยว (Conventional Home)
บ้านหลังเดียวโดด ๆ มีบริเวณที่ดินโดยรอบบ้านมีเนื้อที่กว้างขวางลักษณะของบ้านจะเป็นบ้านชั้นเดียว สองชั้น หรืออาจจะมากกว่าก็ได้ ซึ่งบ้านเดี่ยวนี้มีทั้งที่เป็นบ้านไม้ บ้านตึก บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้
บ้านแฝด (Twin Home)
บ้านที่ผนังด้านหนึ่งติดกันกับอีกหลังหนึ่ง คือ มีผนังร่วมกันหนึ่งด้าน ส่วนอีก 3 ด้านจะมีบริเวณที่ดินโดยรอบ บ้านลักษณะนี้จะมีราคาย่อมเยาว์กว่าบ้านเดี่ยวเพราะสามารถประหยัดวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างได้ส่วนหนึ่ง
อาคารพาณิชย์ (Shop House)
เป็นบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้วยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้ด้วย
การก่อสร้างใช้ไม้เป็นวัสดุส่วนใหญ่เรียกว่า ห้องแถว แต่ถ้าใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตผนังอิฐก็จะเรียกว่า ตึกแถว อาคารแบบนี้มีเนื้อที่แคบจึงนิยมสร้างให้มีความสูงหลายชั้น
การก่อสร้างใช้ไม้เป็นวัสดุส่วนใหญ่เรียกว่า ห้องแถว แต่ถ้าใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตผนังอิฐก็จะเรียกว่า ตึกแถว อาคารแบบนี้มีเนื้อที่แคบจึงนิยมสร้างให้มีความสูงหลายชั้น
ทาวน์เฮาส์ (Twnhouse)
บ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว แต่จะตั้งอยู่ในเมือง มีบริเวณที่จอดรถและจัดสวนขนาดย่อม ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2 – 3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นที่ในเมืองราคาแพง
คอนโดมิเนียม (Condominium)
เป็นอาคารที่มีหลายชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ ฯลฯ อาคารชุดจะตั้งอยู่ใจกลางเมือง หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนามสะดวก คอนโดมิเนียมมี 2 ประเภท
1. ประเภทที่อยู่อาศัย
2. ประเภทสำนักงาน
1. ประเภทที่อยู่อาศัย
2. ประเภทสำนักงาน
แฟลต (Flat)
ที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างเป็นอาคารหลายชั้น มีหลายห้องในอาคารเดียวกัน จัดเป็นห้องชุด มีห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขกและห้องน้ำในห้องของตนเท่านั้น ไม่มีสิทธิในอาคารส่วนร่วม เช่น บันได สิฟต์ ที่ดินอาคาร
สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative Honsing)
เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ ลักษณะเป็นอพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์ และสหกรณ์จะนำเงินไปซื้อที่ดินสร้างอาคารให้สมาชิกได้เช่าอยู่ คุณสมบัติสมาชิก บรรลุนิติภาวะ มีงานทำ
บ้านเคลื่อนที่ (Mobile Home)
เป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่ดี บ้านแบบนี้คนไทยยังไม่ค่อยนิยม เท่าที่มีจะเป็นบ้านของดาราภาพยนต์ซึ่งต้องเดินทางเสมอก็จะซื้อรถขนาดใหญ่มาปรับปรุงภายในให้เหมือนบ้านคือ มีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องอาหาร เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น บ้านลักษณะนี้เรียกว่า Motor Home
บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนเลือกที่อยู่อาศัยมา 1 ประเภทตามความต้องการของตนเอง พร้อมอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยและบอกเหตุผลในการเลือกมาพอสังเขป
คำสั่ง : ให้นักเรียนเลือกที่อยู่อาศัยมา 1 ประเภทตามความต้องการของตนเอง พร้อมอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยและบอกเหตุผลในการเลือกมาพอสังเขป
......................................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................
บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์
บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์
แฟลต คอนโดมิเนียม สหกรณ์เคหสถาน บ้านเคลื่อนที่
บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 2
หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น
บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 2
ปัจจัยที่พิจารณาในการซื้อที่อยู่อาศัยมีดังนี้
1. ทำเลที่ตั้ง (Location) การเลือกทำเลที่เหมาะสมคือความสะดวกสบายและความพอใจที่ครอบครัวจะได้รับจากการอยู่อาศัยในแหล่งนั้น ๆ สิ่งที่สำคัญความสะดวกในการเดินทางเพื่อประกอบกิจวัตรประจำวันของครอบครัว เช่น การไปทำงาน การเดินทางไปเรียนของบุตร
2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี (Environment) สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย เช่น เพื่อนบ้าน ไม่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีมลภาวะต่างๆ มีความปลอดภัย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีสนามกีฬา ฯลฯ
3. ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่างๆ
4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการอยู่อาศัย (Cost mark up) เป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าซื้อ กรณีที่มิได้ซื้อเป็นเงินสด รวมทั้งค่าเช่าที่ต้องจ่ายถ้าเป็นกรณีการเช่า นอกจากนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาซ่อมแซมส่วนต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ายาม ฯลฯ ต้องดูว่าฐานะทางการเงินเอื้ออำนวยต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพียงใด
5. ด้านอื่นฯ (Other Expense) ที่ต้องพิจารณาได้แก่ ความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภคว่ามีพร้อมหรือไม่ ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การกำจัดขยะมูลฝอย ระบบระบายน้ำดีพอหรือไม่ ถ้าระบบระบายน้ำไม่ดีจะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
ปัจจัยที่พิจารณาในการซื้อที่อยู่อาศัยมีดังนี้
1. ทำเลที่ตั้ง (Location) การเลือกทำเลที่เหมาะสมคือความสะดวกสบายและความพอใจที่ครอบครัวจะได้รับจากการอยู่อาศัยในแหล่งนั้น ๆ สิ่งที่สำคัญความสะดวกในการเดินทางเพื่อประกอบกิจวัตรประจำวันของครอบครัว เช่น การไปทำงาน การเดินทางไปเรียนของบุตร
2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี (Environment) สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย เช่น เพื่อนบ้าน ไม่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีมลภาวะต่างๆ มีความปลอดภัย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีสนามกีฬา ฯลฯ
3. ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่างๆ
4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการอยู่อาศัย (Cost mark up) เป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าซื้อ กรณีที่มิได้ซื้อเป็นเงินสด รวมทั้งค่าเช่าที่ต้องจ่ายถ้าเป็นกรณีการเช่า นอกจากนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาซ่อมแซมส่วนต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ายาม ฯลฯ ต้องดูว่าฐานะทางการเงินเอื้ออำนวยต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพียงใด
5. ด้านอื่นฯ (Other Expense) ที่ต้องพิจารณาได้แก่ ความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภคว่ามีพร้อมหรือไม่ ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การกำจัดขยะมูลฝอย ระบบระบายน้ำดีพอหรือไม่ ถ้าระบบระบายน้ำไม่ดีจะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 2
หลักการเลือกที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ถ้านักเรียนจะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยปัจจัยใดที่นักเรียนจะนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยของตนเองพร้อมอธิบายพอสังเขป
คำสั่ง : ถ้านักเรียนจะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยปัจจัยใดที่นักเรียนจะนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยของตนเองพร้อมอธิบายพอสังเขป
...........................................................................................................
.........................................................................................................
แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
คำสั่ง : ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมายกากบาท (X) ทับตัวอักษรหน้าข้อที่ถูกที่สุดลงในกระดาษคำตอบ
1. บ้านที่มีลักษณะที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัย มีเนื้อที่ว่างให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถปลูกต้นไม้ทำสวนได้และมีเนื้อที่ว่างทำประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่นได้คือที่อยู่อาศัยประเภทใด
ก. บ้านแฝด ข. บ้านเดี่ยว
ค. ทาวน์เฮาส์ ง. อาคารพาณิชย์
2. บ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่ตนเองต้องการได้เป็นที่อยู่อาศัย
ประเภทใด
ก. ทาวน์เฮาส์ ข. อาคารพาณิชย์
ค. บ้านเคลื่อนที่ ง. สหกรณ์เคหสถาน
3. ที่อยู่อาศัยที่เป็นอาคารหลายชั้น มีหลายห้องในอาคารเดียวกันในแต่ละห้องจะจัดเป็นชุด มีห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขก และมีห้องน้ำเฉพาะในห้องของตนเอง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารส่วนรวมเช่น บันได ลิฟต์หรือในที่ดินอาคารหมายถึงข้อใด
ก. สหกรณ์เคหสถาน ข. แฟลต
ค. อาคารพาณิชย์ ง. บ้านเดี่ยว
4. ข้อใดคือค่าใช้จ่ายคงที่
ก. ค่าเคเบิ้ลทีวี ข. ค่าโทรศัพท์
ค. ค่าน้ำ ง. ค่าไฟฟ้า
5. ที่อยู่อาศัยประเภทใดเมื่ออยู่ไปแล้วมักจะมีปัญหากับเพื่อนบ้านมาก
ก. คอนโดมิเนียม ข. บ้านเดี่ยว
ค. บ้านแฝด ง. บ้านเคลื่อนที่
6. แนวทางในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
ก. ราคาของบ้านที่อยู่อาศัย ข. สภาพแวดล้อมที่ดี
ข. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการอยู่อาศัย ง. ถูกทุกข้อ
7. ที่อยู่อาศัยประเภทใดที่สามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้
ก. อาคารพาณิชย์ ข. คอนโดมิเนียม
ค. ทาวน์เฮาส์ ง. สหกรณ์เคหสถาน
8. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บ้านแฝดมีผนังรวมกันสองด้าน
ข. บ้านเดี่ยวถ้าราคาไม่แพงจะอยู่ใกล้ชุมชน
ค. บ้านเคลื่อนที่เป็นบ้านที่ต้องสร้างขึ้นเอง
ง. คอนโดมิเนียมโดยทั่วไปจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม
9. ที่อยู่อาศัยประเภทใดก่อนที่จะซื้ออยู่อาศัย ต้องสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ก่อน
ก. แฟลต ข. สหกรณ์เคหสถาน
ค. คอนโดมิเนียม ง. ทาวน์เฮาส์
10. ถ้าสมาชิกภายในบ้านของเรามีผู้สูงอายุอยู่ด้วยเราควรเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทใด
ก. แฟลต ข. บ้านเคลื่อนที่
ค. บ้านเดี่ยว ง. คอนโดมิเนียม
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
1. ข. บ้านเดี่ยว
2. ค. บ้านเคลื่อนที่
3. ข. แฟลต
4. ก. ค่าเคเบิ้ลทีวี
5. ค. บ้านแฝด
6. ง. ถูกทุกข้อ
7. ก. อาคารพาณิชย์
8. ง. คอนโดมิเนียมโดยทั่วไปจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม
9. ข. สหกรณ์เคหสถาน
10. ค. บ้านเดี่ยว
วิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
1. ข. บ้านเดี่ยว
2. ค. บ้านเคลื่อนที่
3. ข. แฟลต
4. ก. ค่าเคเบิ้ลทีวี
5. ค. บ้านแฝด
6. ง. ถูกทุกข้อ
7. ก. อาคารพาณิชย์
8. ง. คอนโดมิเนียมโดยทั่วไปจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม
9. ข. สหกรณ์เคหสถาน
10. ค. บ้านเดี่ยว