วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นวัตกรรม

คำนำ

ชุดการสอนเรื่อง “ การซื้อที่อยู่อาศัย ” นี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อจะช่วยครูผู้สอนวิชาการเงินส่วนบุคคลชั้นปวช.2 ซึ่งในเรื่องที่จัดทำเป็นชุดการสอนเป็นสิ่งที่นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้ ข้าพเจ้าจึงได้รวบรวมความรู้ต่าง ๆ ในเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยตามเนื้อที่นักเรียนควรจะต้องทราบ นำมาจัดทำเป็นชุดการสอนนี้ขึ้นเพื่อสรุปเนื้อหาประกอบกับวิธีการ ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนักเรียนจะได้ปฏิบัติจริงสามารถค้นพบความรู้ได้ด้วยตนเอง และเกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง
ชุดการสอนนี้จัดเป็นแบบศูนย์การเรียน รายละเอียดการใช้ชุดการสอนได้นำมาเสนอไว้ในคู่มือครูแล้ว ข้าพเจ้าจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดการสอนเรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย” นี้ คงจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในวิชาการเงินส่วนบุคคล

สารบัญ
ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุค
เรื่อง “ การซื้อที่อยู่อาศัย ” หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
แผนการจัดการเรียนรู้ 1
คู่มือครู 4
คู่มือนักเรียน 7
ชุดการสอน 9
แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน 17

เอกสารอ้างอิง 20

แผนการจัดการเรียนรู้
วิชา การเงินส่วนบุคคล รหัสวิชา 2201 - 0006 ปวช. 2 หน่วยที่ 6
ชื่อหน่วย การซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 5 คาบ
หัวข้อเรื่อง การซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 2 คาบ
แผนการสอน อาจารย์ธาราทิพย์ บัวทวน สอนเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2551 โรงเรียนดรุณาราชบุรีพณิชยการ
.............................................................................................................................................................
1. สาระสำคัญ
การซื้อที่อยู่อาศัย เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคน ประเภทของที่อยู่อาศัยมีหลายชนิด การเลือกที่อยู่อาศัยจะต้องใช้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ของเรา
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
นักเรียนอธิบายการซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1. นักเรียนอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภทได้ถูกต้อง
2. นักเรียนระบุหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้ถูกต้อง
3. สาระการเรียนรู้
1. ประเภทของที่อยู่อาศัย
2. หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
4. กิจกรรมการเรียนรู้
1) อธิบายประเภทของที่อยู่อาศัย
1.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
1.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point ประเภทของที่อยู่อาศัยมาให้นักเรียนดู
1.3 ครูอธิบาย Power Point บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์ แฟลต คอนโดมิเนียม สหกรณ์เคหสถาน บ้านเคลื่อนที่
1.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภาย 10 นาที
1.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 8 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
1.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทนออกมาอภิปรายแสดงความคิดเห็นหน้าห้องเรียน ในหัวข้อเรื่องที่ได้รับมอบหมายใช้เวลา 5 นาทีต่อกลุ่ม
1.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา

2) อธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.1 จัดทำชั้นเรียนนักเรียนนั่งตามปกติ
2.2 นำเสนอนวัตกรรมสื่อ Power Point เรื่องหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยให้นักเรียนดู
2.3 ครูอธิบาย Power Point หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
2.4 ปฏิบัติตามภาระงานโดยค้นคว้าและแสดงความคิดเห็นกันในห้องเรียนภายใน 10 นาที
2.5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเลือกตัวแทน 2 คน ไปอธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงานของกลุ่ม
2.6 นำเสนอผลงาน โดยให้นักเรียนที่เป็นตัวแทน 1 คน อธิบายให้เพื่อนในชั้นฟังแล้วจดบันทึกรายละเอียดลงในใบกำหนดงาน
2.7 สรุปและเพิ่มเติมเนื้อหา
5. สื่อและแหล่งสาระการเรียนรู้
1.1 ภาพสื่อ Power Point
1.2 หนังสือ เรื่อง การเงินส่วนบุคคล ใบกำหนดงาน 6.1 และ 6.2
1.3 ศูนย์การเรียน เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย จำนวน 2 ศูนย์
6. การวัดผลและประเมินผล
วิธีการวัดผล
1. วัดการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ด้วยการตรวจผลกาอธิบาย ตามใบงานที่ 6.1 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
2. วัดการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ด้วยการตรวจผลการอธิบาย ตามใบงานที่ 6.2 โดยยึดเกณฑ์ถูกต้อง
การประเมินผล
1. ประเมินผลการอธิบายประเภทของที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 107 – 111 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน
2. ประเมินผลการอธิบายหลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย พบว่า นักเรียน...............คน อธิบายไม่ได้ แก้ไขด้วยการให้อ่านหนังสือ เรื่องการซื้อที่อยู่อาศัย หน้า 111 - 114 เพิ่มเติมนอกเวลาเรียน

7. บันทึกหลังการสอน
ผู้เรียนมีความสนใจทางการเรียนและมีความสนุกสนานในการเรียนรู้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำใบกำหนดงาน และเข้าใจประเภทของที่อยู่อาศัยและหลักในการเลือกที่อยู่อาศัย

คู่มือครู

ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ

คำชี้แจงสำหรับครู
1. ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อม (ดูสิ่งที่ครูต้องเตรียม)
2. ครูจัดชั้นเรียนและจัดวางสื่อการสอน ตามข้อเสนอแนะ

แผนผังการจัดชั้นเรียน


3. ครูศึกษาเนื้อหาที่ต้องสอนให้ละเอียดพอสมควร และศึกษาชุดการสอนให้รอบคอบ
4. ก่อนสอนครูต้องเตรียมชุดการสอนไว้บนโต๊ะให้เรียบร้อยและให้เพียงพอกับนักเรียนแต่ละคน ซึ่งแต่ละคนจะได้รับคนละ 1 ชุด
5. ก่อนสอนครูจะต้องให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนเสียก่อน ตรวจดูแบบทดสอบพร้อมทั้งกระดาษคำตอบให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
6. ก่อนสอนครูต้องชี้แจงให้นักเรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทของนักเรียนในการใช้ชุดการสอน (ดูบทบาทนักเรียน)
7. เมื่อทันทีที่นักเรียนทุกคนประกอบกิจกรรม ครูไม่ควรพูดเสียงดัง หากมีอะไรจะพูดต้องพูดเป็นรายบุคคล ต้องไม่รบกวนกิจกรรมของนักเรียนคนอื่น
8. ขณะที่นักเรียนประกอบกิจกรรม ครูต้องเดินดูการทำงานของนักเรียนแต่ละคนอย่างใกล้ชิด หากมีนักเรียนคนใดมีปัญหา ครูควรจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือจนปัญหานั้นคลี่คลาย
9. หากมีนักเรียนคนใดทำงานช้าจนเกินไป ครูต้องนำนักเรียนออกมาทำกิจกรรมพิเศษ โดยหากิจกรรมให้เหมาะสมกับนักเรียนที่เรียนช้า
10. ถ้านักเรียนคนใดทำงานได้เร็วจนเกินไป ครูก็ควรให้ไปทำกิจกรรมพิเศษที่เตรียมไว้สำหรับนักเรียนที่เรียนเร็ว
11. การเปลี่ยนกิจกรรมกระทำได้เมื่อ
1) เปลี่ยนพร้อมกันทุกคน หากทำกิจกรรมเสร็จพร้อมกัน
2) หากมีคนใดเสร็จก่อน โดยคนอื่นยังไม่เสร็จก็ให้คนที่เสร็จก่อนเปลี่ยนไปยังศูนย์สำรอง
12. ก่อนบอกให้นักเรียนเปลี่ยนศูนย์ ครูจะต้องเน้นให้นักเรียนเก็บชุดสื่อการสอนของตนเองไว้ในสภาพเรียบร้อย ห้ามถือติดมือไปด้วย และขอให้การเปลี่ยนศูนย์เป็นไปอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
13. การสรุปบทเรียนควรจะเป็นกิจกรรมร่วมของนักเรียนทุกคนหรือตัวแทนของนักเรียน
14. หลังจากสอนเรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน
15. ในกรณีที่นักเรียนคนใดขาดเรียนในหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ให้นักเรียนเรียนเป็นรายบุคคลจากชุดการสอนที่เตรียมไว้ โดยครูอาจแยกออกมาอย่างละ 1 ชุด สำหรับนักเรียนคนนั้น
16. หลังจากนักเรียนได้เรียนเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว ให้ครูเก็บกระดาษคำตอบของนักเรียนไว้ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและความก้าวหน้าของการเรียน

สิ่งที่ครูต้องเตรียม
1. ครูจะต้องตรวจชุดการสอนให้มีความครบถ้วนทุกกิจกรรม เช่น บัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมด้วยกระดาษคำตอบ

บทบาทของครู
1. มีความเป็นกันเอง มีความเห็นอกเห็นใจผู้เรียน สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนใส่ใจให้กำลังใจ สนทนา ไถ่ถาม
2. ครูพูดน้อย และจะเป็นเพียงผู้ประสานงานแนะนำช่วยเหลือ เมื่อผู้เรียนต้องการเท่านั้น ครูไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของผู้เรียน
3. สนับสนุนให้กำลังใจ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานแสดงออกอย่างอิสระ และแสดงออกซึ่งความสามารถของผู้เรียนแต่คน
4. สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการทำงานให้เป็นไปตามจุดหมายที่วางไว้

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง



คู่มือนักเรียน

ชุดการสอนวิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”

ส่วนประกอบของชุดการสอน
1. บทเรียน จัดเป็นศูนย์การเรียน 2 ศูนย์ และแต่ละศูนย์มีส่วนประกอบดังนี้
ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม และบัตรเฉลย
2. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ

คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
1. นักเรียนนั่งตามที่ครูจัดไว้
แผนผังการจัดชั้นเรียน

2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียนและเมื่อทำเสร็จให้นำส่งที่ครู
3. ศึกษาชุดการสอนให้เข้าใจ
4. เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยให้ถามครูผู้สอนทันที
5. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบหลังเรียนใส่กระดาษคำตอบส่งครูท้ายชั่วโมง

สิ่งที่นักเรียนต้องเตรียม
1. หนังสือวิชาการเงินส่วนบุคคล
2. อุปกรณ์การเรียน
บทบาทของนักเรียน
ครูต้องชี้แจงให้นักเรียนทราบถึงบทบาทของนักเรียน ดังต่อไปนี้
1. อ่านบัตรคำสั่งและปฏิบัติตามคำสั่งที่ละขั้นตอนอย่างระมัดระวัง
2. พยายามตอบคำถาม หรืออภิปรายอย่างสุดความสามารถ คำถามที่มีปรากฏไว้ในชุดการสอนไม่ใช่ข้อสอบ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้
3. นักเรียนต้องตั้งใจปฏิบัติงาน อภิปรายอย่างจริงจัง ไม่ก่อกวนผู้อื่น และไม่ชักชวนเพื่อให้ออกนอกลู่นอกทาง
4. เวลาเปลี่ยนศูนย์ขอให้เก็บบัตรทุกอย่าง และสื่อการสอนอื่นให้เรียบร้อย พร้อมที่นักเรียนคนอื่นจะมาใช้ได้ทันที ถ้าหากมีอะไรเกิดชำรุดเสียหายต้องรีบแจ้งให้ครูทราบทันที
5. เมื่อนักเรียนลุกจากศูนย์กิจกรรม ต้องจัดเก้าอี้ให้เรียบร้อยและเปลี่ยนไปยังอีกศูนย์หนึ่งด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
6. นักเรียนต้องใช้ชุดการสอนอย่างระมัดระวัง
7. เนื่องจากการทำกิจกรรมแต่ละคนมีจำนวนจำกัด และต้องเปลี่ยนไปทำกิจกรรมอื่นอีก นักเรียนต้องตั้งใจทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว

การประเมินผล
1. ประเมินผลจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมายให้ทำ
3. สังเกตจากการเข้าร่วมกิจกรรมภายในห้อง


เรื่อง การซื้อที่อยู่อาศัย

ศูนย์ที่ 1 ประเภทของที่อยู่อาศัย
ศูนย์ที่ 2 หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย


บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 1
ประเภทของที่อยู่อาศัย


คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น


บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 1ประเภทของที่อยู่อาศัย



บ้านเดี่ยว (Conventional Home)







บ้านหลังเดียวโดด ๆ มีบริเวณที่ดินโดยรอบบ้านมีเนื้อที่กว้างขวางลักษณะของบ้านจะเป็นบ้านชั้นเดียว สองชั้น หรืออาจจะมากกว่าก็ได้ ซึ่งบ้านเดี่ยวนี้มีทั้งที่เป็นบ้านไม้ บ้านตึก บ้านครึ่งตึกครึ่งไม้




บ้านแฝด (Twin Home)





บ้านที่ผนังด้านหนึ่งติดกันกับอีกหลังหนึ่ง คือ มีผนังร่วมกันหนึ่งด้าน ส่วนอีก 3 ด้านจะมีบริเวณที่ดินโดยรอบ บ้านลักษณะนี้จะมีราคาย่อมเยาว์กว่าบ้านเดี่ยวเพราะสามารถประหยัดวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างได้ส่วนหนึ่ง






อาคารพาณิชย์ (Shop House)


เป็นบ้านที่นิยมกันมาก เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยแล้วยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้ด้วย
การก่อสร้างใช้ไม้เป็นวัสดุส่วนใหญ่เรียกว่า ห้องแถว แต่ถ้าใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตผนังอิฐก็จะเรียกว่า ตึกแถว อาคารแบบนี้มีเนื้อที่แคบจึงนิยมสร้างให้มีความสูงหลายชั้น





ทาวน์เฮาส์ (Twnhouse)







บ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว แต่จะตั้งอยู่ในเมือง มีบริเวณที่จอดรถและจัดสวนขนาดย่อม ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ 2 – 3 ชั้น ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากเป็นที่ในเมืองราคาแพง





คอนโดมิเนียม (Condominium)





เป็นอาคารที่มีหลายชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน้ำ ฯลฯ อาคารชุดจะตั้งอยู่ใจกลางเมือง หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนามสะดวก คอนโดมิเนียมมี 2 ประเภท
1. ประเภทที่อยู่อาศัย
2. ประเภทสำนักงาน





แฟลต (Flat)




ที่อยู่อาศัยที่ก่อสร้างเป็นอาคารหลายชั้น มีหลายห้องในอาคารเดียวกัน จัดเป็นห้องชุด มีห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขกและห้องน้ำในห้องของตนเท่านั้น ไม่มีสิทธิในอาคารส่วนร่วม เช่น บันได สิฟต์ ที่ดินอาคาร






สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative Honsing)






เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์ ลักษณะเป็นอพาร์ตเม้นต์คอมเพล็กซ์ คล้ายคอนโดมิเนียม ผู้ต้องการที่อยู่อาศัยจะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์ และสหกรณ์จะนำเงินไปซื้อที่ดินสร้างอาคารให้สมาชิกได้เช่าอยู่ คุณสมบัติสมาชิก บรรลุนิติภาวะ มีงานทำ





บ้านเคลื่อนที่ (Mobile Home)







เป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่ดี บ้านแบบนี้คนไทยยังไม่ค่อยนิยม เท่าที่มีจะเป็นบ้านของดาราภาพยนต์ซึ่งต้องเดินทางเสมอก็จะซื้อรถขนาดใหญ่มาปรับปรุงภายในให้เหมือนบ้านคือ มีห้องนอน ห้องน้ำ ห้องอาหาร เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น บ้านลักษณะนี้เรียกว่า Motor Home





บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนเลือกที่อยู่อาศัยมา 1 ประเภทตามความต้องการของตนเอง พร้อมอธิบายลักษณะที่อยู่อาศัยและบอกเหตุผลในการเลือกมาพอสังเขป


......................................................................................................................................................................


.......................................................................................................................................................................


........................................................................................................................................................................
......................................................................................................................................................................

บัตรเฉลย ศูนย์การเรียนที่ 1
ประเภทของที่อยู่อาศัย
บ้านเดี่ยว บ้านแฝด อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮาส์
แฟลต คอนโดมิเนียม สหกรณ์เคหสถาน บ้านเคลื่อนที่


บัตรคำสั่ง ศูนย์การเรียนที่ 2
หลักการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ให้ผู้เรียนอ่านบัตรเนื้อหาที่เตรียมไว้ให้
2. ทำกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในบัตรกิจกรรม
3. ตรวจคำตอบจากบัตรเฉลย
4. เมื่อทำกิจกรรมเรียบร้อยแล้วให้เก็บสื่อการสอนทุกชิ้นเข้าที่ให้เรียบร้อยก่อนจะย้ายไปเรียนที่ศูนย์อื่น


บัตรเนื้อหา ศูนย์การเรียนที่ 2
ปัจจัยที่พิจารณาในการซื้อที่อยู่อาศัยมีดังนี้
1. ทำเลที่ตั้ง (Location) การเลือกทำเลที่เหมาะสมคือความสะดวกสบายและความพอใจที่ครอบครัวจะได้รับจากการอยู่อาศัยในแหล่งนั้น ๆ สิ่งที่สำคัญความสะดวกในการเดินทางเพื่อประกอบกิจวัตรประจำวันของครอบครัว เช่น การไปทำงาน การเดินทางไปเรียนของบุตร
2. มีสภาพแวดล้อมที่ดี (Environment) สภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย เช่น เพื่อนบ้าน ไม่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีมลภาวะต่างๆ มีความปลอดภัย มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ มีสนามกีฬา ฯลฯ
3. ย่านที่ตั้ง (Zoning) บ้านที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย ควรเป็นบ้านเพื่อการอยู่อาศัยอย่างแท้จริง ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในเขตที่อยู่อาศัย ไม่ใช่ย่านสำคัญทางการค้า หรือย่านโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยควรเป็นสถานที่เงียบสงบ ไม่มีการรบกวนในเรื่องเสียงอึกทึกครึกโครม หรือกลิ่นต่างๆ
4. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการอยู่อาศัย (Cost mark up) เป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าดอกเบี้ย ค่าเช่าซื้อ กรณีที่มิได้ซื้อเป็นเงินสด รวมทั้งค่าเช่าที่ต้องจ่ายถ้าเป็นกรณีการเช่า นอกจากนี้จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาซ่อมแซมส่วนต่างๆ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ายาม ฯลฯ ต้องดูว่าฐานะทางการเงินเอื้ออำนวยต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพียงใด
5. ด้านอื่นฯ (Other Expense) ที่ต้องพิจารณาได้แก่ ความสะดวกทางด้านสาธารณูปโภคว่ามีพร้อมหรือไม่ ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ การกำจัดขยะมูลฝอย ระบบระบายน้ำดีพอหรือไม่ ถ้าระบบระบายน้ำไม่ดีจะมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม
บัตรกิจกรรม ศูนย์การเรียนที่ 2
หลักการเลือกที่อยู่อาศัย
คำสั่ง : ถ้านักเรียนจะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยปัจจัยใดที่นักเรียนจะนำมาพิจารณาในการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยของตนเองพร้อมอธิบายพอสังเขป
...........................................................................................................
.........................................................................................................

แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”

คำสั่ง : ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมายกากบาท (X) ทับตัวอักษรหน้าข้อที่ถูกที่สุดลงในกระดาษคำตอบ

1. บ้านที่มีลักษณะที่ให้ความเป็นส่วนตัวแก่ผู้อยู่อาศัย มีเนื้อที่ว่างให้ผู้ที่อยู่อาศัยสามารถปลูกต้นไม้ทำสวนได้และมีเนื้อที่ว่างทำประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่นได้คือที่อยู่อาศัยประเภทใด
ก. บ้านแฝด ข. บ้านเดี่ยว
ค. ทาวน์เฮาส์ ง. อาคารพาณิชย์
2. บ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่ตนเองต้องการได้เป็นที่อยู่อาศัย
ประเภทใด
ก. ทาวน์เฮาส์ ข. อาคารพาณิชย์
ค. บ้านเคลื่อนที่ ง. สหกรณ์เคหสถาน
3. ที่อยู่อาศัยที่เป็นอาคารหลายชั้น มีหลายห้องในอาคารเดียวกันในแต่ละห้องจะจัดเป็นชุด มีห้องนอน ห้องครัว ห้องรับแขก และมีห้องน้ำเฉพาะในห้องของตนเอง แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารส่วนรวมเช่น บันได ลิฟต์หรือในที่ดินอาคารหมายถึงข้อใด
ก. สหกรณ์เคหสถาน ข. แฟลต
ค. อาคารพาณิชย์ ง. บ้านเดี่ยว
4. ข้อใดคือค่าใช้จ่ายคงที่
ก. ค่าเคเบิ้ลทีวี ข. ค่าโทรศัพท์
ค. ค่าน้ำ ง. ค่าไฟฟ้า
5. ที่อยู่อาศัยประเภทใดเมื่ออยู่ไปแล้วมักจะมีปัญหากับเพื่อนบ้านมาก
ก. คอนโดมิเนียม ข. บ้านเดี่ยว
ค. บ้านแฝด ง. บ้านเคลื่อนที่
6. แนวทางในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับสิ่งใดต่อไปนี้
ก. ราคาของบ้านที่อยู่อาศัย ข. สภาพแวดล้อมที่ดี
ข. ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหลังจากการอยู่อาศัย ง. ถูกทุกข้อ
7. ที่อยู่อาศัยประเภทใดที่สามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้
ก. อาคารพาณิชย์ ข. คอนโดมิเนียม
ค. ทาวน์เฮาส์ ง. สหกรณ์เคหสถาน

8. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บ้านแฝดมีผนังรวมกันสองด้าน
ข. บ้านเดี่ยวถ้าราคาไม่แพงจะอยู่ใกล้ชุมชน
ค. บ้านเคลื่อนที่เป็นบ้านที่ต้องสร้างขึ้นเอง
ง. คอนโดมิเนียมโดยทั่วไปจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม
9. ที่อยู่อาศัยประเภทใดก่อนที่จะซื้ออยู่อาศัย ต้องสมัครเป็นสมาชิกสหกรณ์ก่อน
ก. แฟลต ข. สหกรณ์เคหสถาน
ค. คอนโดมิเนียม ง. ทาวน์เฮาส์
10. ถ้าสมาชิกภายในบ้านของเรามีผู้สูงอายุอยู่ด้วยเราควรเลือกซื้อที่อยู่อาศัยประเภทใด
ก. แฟลต ข. บ้านเคลื่อนที่
ค. บ้านเดี่ยว ง. คอนโดมิเนียม
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
วิชาการเงินส่วนบุคคล เรื่อง “การซื้อที่อยู่อาศัย”
1. ข. บ้านเดี่ยว
2. ค. บ้านเคลื่อนที่
3. ข. แฟลต
4. ก. ค่าเคเบิ้ลทีวี
5. ค. บ้านแฝด
6. ง. ถูกทุกข้อ
7. ก. อาคารพาณิชย์
8. ง. คอนโดมิเนียมโดยทั่วไปจะไม่ประสบปัญหาน้ำท่วม
9. ข. สหกรณ์เคหสถาน
10. ค. บ้านเดี่ยว
































วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2551

บทความน่าสนใจ


ระวัง! ตัวร้ายในสำนักงาน

ระวัง! ตัวร้ายในสำนักงาน เลเซอร์พรินต์ อันตรายต่อสุขภาพทีมนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียพบว่า เครื่องเลเซอร์พรินเตอร์ที่ใช้พิมพ์งานในสำนักงานนั้น เป็นอันตรายต่อปอดของคนทำงานได้พอๆกับอนุภาคควันจากการสูบบุหรี่ จากการเฝ้าสังเกตตรวจตราเครื่องเลเซอร์พรินเตอร์หลายรุ่นแสดงว่าเกือบ 1 ใน 3 ของเครื่องนั้นปล่อยระดับหมึกที่เป็นอันตรายออกมาสู่อากาศรอบข้าง ทีมนักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ เรียกร้องต่อรัฐบาลให้ออกกฎควบคุมการฟุ้งกระจายของหมึกจากเครื่องพรินเตอร์อย่างจริงจัง และเสนอว่าเครื่องพรินเตอร์บางชนิดน่าจะมีการติดป้ายเตือนภัยเกี่ยวกับสุขภาพ
นักวิจัยกลุ่มนี้ได้ทำการทดสอบเครื่องพรินเตอร์ ต่างๆ กว่า 60 เครื่อง พบว่าเกือบ 1/3 นั้นมีการปล่อยอนุภาคหมึกขนาดเล็กจิ๋วออกมา มันมีขนาดเล็กมากจนสามารถแทรกซึมเข้าสู่ปอดได้ และเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ ไปจนถึงการเจ็บป่วยเรื้อรัง ในการทดสอบกระทำขึ้นภายในสำนักงานแบบเปิด และพบว่าอนุภาคนั้นเพิ่มขึ้น 5 เท่าระหว่างชั่วโมงทำงาน ซึ่งสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากการใช้เครื่องพรินเตอร์นั่นเอง ปัญหาจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนหมึกพิมพ์ใหม่ และมีการเรียกใช้งานพิมพ์ภาพกราฟฟิกที่มีปริมาณการใช้หมึกพิมพ์สูง นอกจากจะเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ออกกฎควบคุมแล้ว นักวิจัยยังต้องการให้ บริษัทห้างร้านจัดวางเครื่องพรินเตอร์ไว้ในบริเวณ ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อให้อนุภาคดังกล่าวสลายไป





ภาษาและเทคโนโลยีสำหร้บครู (ภาษาไทย)


คำซ้ำ
ความหมายของคำซ้ำคำซ้ำเกิดจากการสร้างคำขึ้นใหม่ โดยนำคำมูลซึ่งส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียวมาซ้ำกัน มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลงหรือไม่ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น ในการเขียนใช้ไม้ยมกแทนคำหลังคำส่วนมากใช้เป็นคำซ้ำได้ มีเฉพาะบางคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ บางคำต้องเป็นคำซ้ำเท่านั้นคำที่เป็นคำซ้ำไม่ได้ - กริยาช่วย เช่น จะ คง ได้ อาจ - บุพบท เช่น ของ แห่ง ด้วย กับ - สันธาน เช่น เมื่อ หลังจาก ตั้งแต่ และ แต่ หรือ จึง คำที่ต้องเป็นคำซ้ำ ส่วนมากเป็นคำวิเศษณ์ เช่น หยิมๆ หลัดๆ ดิกๆ ยองๆ นำคำซ้อนมาแยกเป็นคำซ้ำ เช่น เจ็บไข้ เป็น เจ็บๆ ไข้ๆ เลียบเคียง เป็น เลียบๆ เคียงๆ อิดเอื้อน เป็น อิดๆ เอื้อนๆ3. นำคำซ้ำมาประกอบเป็นคำซ้อน เช่น เปรี้ยวๆ เค็มๆ นั่งๆ นอนๆ เราๆ ท่านๆ4. คำซ้ำมีความหมายผิดไปจากคำมูลเดิม แต่ยังคงมีเค้าของความหมายเดิม 4.1 บอกพหูพจน์ คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้ เมื่อเป็นคำซ้ำกลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น เด็กๆ เล่นฟุตบอล หนุ่มๆ มากับสาวๆ 4.2บอกความไม่เจาะจง การจำแนกเป็นพวก และความเป็นพหูพจน์ เช่นเชิญผู้ใหญ่ๆ ไปทางโน้น เด็กๆ มาทางนี้5. บอกความหมายใหม่ ไม่เนื่องกับความหมายของคำมูลเดิมเช่น พื้นๆ (ธรรมดา) กล้วยๆ (ง่าย) น้องๆ (เกือบ, ใกล้, คล้าย) อยู่ๆ ( เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ) งูๆปลาๆ6. คำที่ออกเสียงซ้ำกัน ไม่ใช่คำซ้ำเสมอไป คำซ้ำจะต้องเป็นคำมูลที่ออกเสียงซ้ำกันแล้วเกิดคำใหม่ขึ้นและมีความหมายเปลี่ยนไป คำซ้ำใช้ไม้ยมกแทนคำมูลหลังคำที่ออกเสียงซ้ำกันในบางกรณีเป็นคนละคำและอยู่ต่างประโยคกัน ไม่จัดเป็นคำซ้ำและใช้ไม้ยมกแทนคำหลังไม่ได้ เช่น เขาทำงานเป็นเป็นเพราะเธอสอนให้ เขาจะไปหาที่ที่สงบอ่านหนังสือ

ภาษาและเทคโนโลยีสำหร้บครู (เทคโนโลยี)

IP Address หรือ IP network numberภายใต้มาตรฐาน TCP/IP เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกัน จะต้องมีหมายเลขประจำตัวไว้อ้างอิงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทราบ เช่นเดียวกับเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลแต่ละคน โดยหมายเลขอ้างอิงนี้ จะเป็นหมายเลขตำแหน่งของระบบ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า IP network number หรือหมายเลข IP หมายเลขต่าง ๆ ต้องไม่ซ้ำกัน ดังนั้นจึงถูกควบคุมโดยหน่วยงาน (InterNIC - Internet Network Information Center) ขององค์กร Network Solution Incorporated (NSI) สหรัฐอเมริกา หรือจาก ISP ผู้ให้บริการทั่วไป ซึ่งได้ขอจาก InterNIC มาก่อนหน้านี้แล้วIP number ประกอบด้วยเลขฐานสองจำนวน 4 ชุด ๆ ละ 8 บิต (รวม 32 บิต) สามารถแทนค่าได้ 256 4 หรือ 4,294,967,296 ค่า จาก 000.000.000.000 ถึง 255.255.255.255เขียนเป็นเลขฐานสิบ 4 ชุด แต่ละชุดคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (dot)และสามารถแบ่งเป็นกลุ่ม เรียกว่า คลาส (Class) ได้ 5 คลาส


ดังนี้ain Name ใน Internetชื่อโดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ถูกเรียกแทนการเรียกเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ต (IP Address) เนื่องจากการจดจำหมายเลข IP ถึง 16 หลัก ทำให้ยุ่งยาก และไม่สามารถจำได้เวลาท่องเที่ยวไปในระบบอินเทอร์เน็ต จึงนำชื่อที่เป็นตัวอักษรมาใช้แทน ซึ่งมักจะเป็นชื่อที่สื่อความหมายถึงหน่วยงาน หรือเจ้าของเว็บไซต์นั้นๆเช่นเว็บไซต์ของเนคเทค มีหมายเลข IP คือ 202.44.204.33 ซึ่งยากต่อการจดจำ (ในกรณีที่ต้องจำหลายเว็บไซต์) ดังนั้นจึงมีการกำหนดชื่อเรียกใหม่ เป็น www.nectec.or.th ซึ่งก็คือ "ชื่อโดเมน" นั่นเองชื่อโดเมน เป็นชื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคล แต่การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ยังใช้ IP Address ดังนั้น ระบบจึงมีการติดตั้งโปรแกรม และเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นตัว Lookup หรือดัชนี ในการเปิดดูบัญชีหมายเลข จากชื่อที่เป็นตัวอักษร หรือเรียกว่า Domain Name โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า Domain Name Server หรือ Domain Serverชื่อโดเมน เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้าง และถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยแต่ละประเทศจะมีหน่วยงานรับผิดชอบการจดทะเบียนชื่อโดเมน เช่น ประเทศไทย รับผิดชอบโดย "ศูนย์สารสนเทศเครือข่ายประเทศไทย - THNIC : Thailand Network Information Center"
รูปแบบชื่อโดเมนรูปแบบการตั้งชื่อของ Domain ตามหลักการของ Internet มีรูปแบบ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือโดเมนขั้นสูงสุด - Top Level Domain เป็นรูปแบบที่ยังสามารถแบ่งได้ อีก 2 แบบย่อย คือรูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแบบสากล (General Internet DNS Top Level Domains: gTLDs) เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้กัน โดยเฉพาะในอเมริกา เช่น .com, .net, .govรูปแบบโดเมนขั้นสูงสุดแต่ละประเทศ (Country Code Top Level Domains: ccTLDs) เป็นรูปแบบที่ใช้บ่งบอกถึงประเทศเจ้าของโดเมน หรือที่ตั้งของโดเมน มักจะใช้กับประเทศอื่นๆ ยกเว้นอเมริกา เช่น .th หมายถึงโดเมนที่ดูแลโดยประเทศไทย หรือ .jp หมายถึงโดเมนของประเทศญี่ปุ่นโดเมนขั้นที่สอง - Second Level Domainโดเมนขั้นที่ 3 - Third Level Domain
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Domain Nameโดเมนเนมแรก คือ symbolics.com ซึ่งจดทะเบียนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1985park คือ การจองโดเมนเนม โดยที่ยังไม่นำไปใช้งานCybersquatter คือ ผู้ที่ต้องการเก็งกำไรจากการขายโดเมนเนมให้กับผู้อื่นติดตามสถิติการจดโดเมนเนมทั่วโลก ได้จาก
http://www.domainstats.com/ICANN http://www.icann.org เป็นองค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักธุรกิจที่มีชื่อเสียง ที่ทำหน้าที่บริหารระบบโดเมนเนม, จัดสรรหมายเลขไอพี, บริหารระบบอุปกรณ์บริการด้านทะเบียนและสืบค้นโดเมน และกำหนดมาตรฐานทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับโปรโตคอลสื่อสาร โดยไม่หวังผลกำไรในอดีตชื่อโดเมน ยาวไม่เกิน 22 ตัวอักษร และได้เปลี่ยนเป็น 63 ตัวอักษร ตั้งแต่ปลายปี 1999 โดยเฉลี่ยไม่เกิน 11 ตัวอักษรในการขอจดชื่อโดเมนเนม จะเป็นสิทธิ์แบบเช่าชื่อ ซึ่งมีอายุ 2 ปี และต้องต่ออายุใหม่ตรวจสอบชื่อโดเมนเนม ได้จากเว็บไซต์http://www.netsol.comhttp://www.thnic.net
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail or E-mail)ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกย่อๆ ว่า E - Mail เป็นวิธีการติดต่อสื่อสารกันบน Internet ที่เป็นมาตรฐาน และเก่าแก่ที่สุด โดยที่สามารถจะส่งเอกสารที่เป็นข้อความธรรมดา จนถึงการส่งเอกสาร แบบมัลติมิเดีย มีทั้งภาพและเสียง ไปรอบโลก ในการให้บริการแบบนี้ ผู้ที่ต้องการส่ง และรับจดหมาย อีเล็กทรอนิกส์ จะต้องมีบัญชีการใช้บริการที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า E-Mail Address คล้ายๆ กับชื่อ-นามสกุล และที่อยู่นั่นเองสามารถแบ่งการใช้อีเมล์ตามลักษณะของการให้บริการได้กว้างๆ 3 ลักษณะคือ
• อีเมล์สำนักงาน – เป็นบัญชีการใช้บริการรับ/ส่งอีเมล์ที่หน่วยงาน หรือสำนักงานของผู้ใช้เป็นผู้จัดทำและให้บริการ มีจุดเด่นคือ บ่งชี้ถึงหน่วยงานสังกัดของผู้ใช้ เช่น อีเมล์ของบุคลากรในเนคเทค จะอยู่ในรูปของ ชื่อบุคคล @nectec.or.th ทำให้ทราบได้ทันทีว่าบุคคลนั้นๆ อยู่ในหน่วยงานใด
• อีเมล์โดย ISP – ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายท่าน คงไม่มีอีเมล์ที่จัดให้บริการโดยสำนักงาน เนื่องจากความไม่พร้อมของสำนักงานหรือหน่วยงานที่ต้นสังกัด ทางเลือกที่น่าสนใจก็คือ เมื่อผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตจาก ISP ส่วนมาก ISP ก็จะให้บริการอีเมล์ด้วยเสมอ ดังนั้นผู้ใช้จึงสามารถมีอีเมล์ที่ให้บริการโดย ISP เพื่อใช้งานได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามอีเมล์แบบนี้ มักจะมีจุดอ่อน คือไม่บ่งชี้สถานภาพของบุคคล หรือหน่วยงานอายุการใช้บริการไม่ยาวนาน โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ต มักจะซื้อบริการที่ถูกที่สุด ดังนั้นเมื่อหมดอายุกับ ISP รายหนึ่ง ก็อาจจะเปลี่ยนเป็นอีกราย (ที่ราคาถูกกว่า) ทำให้อีเมล์เดิมถูกยกเลิกไปทันที ซึ่งเป็นภาระในการติดต่อสื่อสารได้อีเมล์ที่ให้บริการฟรีทั่วไป – หน่วยงานหรือเว็บไซต์หลายเว็บไซต์ ให้บริการบัญชีอีเมล์ฟรีสำหรับผู้สนใจทั่วไป
ดังนั้นผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนมาก จึงเลือกใช้อีเมล์ลักษณะนี้ เนื่องจากสมัครได้ง่าย ฟรี และใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลารูปแบบของ e-Mail Addressบัญชีชื่อ @ โดเมนเนมของหน่วยงานหรือผู้ให้บริการเช่น นายสมชาย เป็นพนักงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายสมชาย คือ somchai@nectec.or.th (ข้อมูลสมมติ)นายวินัย เป็นพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดังนั้น e-Mail Address ที่สามารถเป็นไปได้ของนายวินัย คือ vinai@ku.ac.thการแจ้งอีเมล์ให้กับผู้อื่น มีข้อควรระวังดังนี้ระบุตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็กให้ชัดเจน เพราะระบบอินเทอร์เน็ต มักจะถือว่าตัวอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นคนละตัวกัน เช่น Vinai ไม่เหมือนกับ vinai เป็นต้นจะต้องระบุให้ครบทั้งชื่อบัญชี เครื่องหมาย @ และโดเมนเนมบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย ด้วย ftpFTP หรือ File Transfer Protocol เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดยใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server)ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูกการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymousปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTPบริการใช้เครื่องข้ามเครือข่าย ด้วยโปรแกรม telnetบริการนี้เป็นประโยชน์ และประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการที่ระบบคอมพิวเตอร์ และโปรแกรม ตลอดจนข้อมูลบางอย่าง ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่มีขีดความสามารถสูงมาก และต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก
ดังนั้นถ้าต้องซื้อระบบดังกล่าวมาใช้งานที่ไม่บ่อยนัก อาจจะไม่คุ้มค่า ในการลงทุน และเสียเวลา ดังนั้นการใช้โปรแกรม telnet ที่ทำให้สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ห่างไกลออกไปโดยเสมือนอยู่ที่หน้าเครื่องนั้นๆ โดยตรง จึงเป็นโปรแกรมที่จำเป็น อีกโปรแกรมหนึ่งของ Internet ด้วยความสามารถนี้ โปรแกรม Telnet อนุญาตให้คุณทำงานบน เครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ที่อยู่บน Internet เช่น การ Compile โปรแกรม หรือการสั่งให้โปรแกรมทำงาน ที่ไม่สามารถทำงานบนเครื่องที่ใช้งานอยู่ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมที่มีความซับซ้อนมากๆ ในการคำนวน ไม่สามารถที่จะใช้เครื่องที่อยู่บนโต๊ะ (PC or Work Station แบบปกติ) ได้ ต้องส่งโปรแกรมไปทำงานบน Super Computer โดยใช้โปรแกรม Telnet เพื่อเชื่อมกับ Super Computer กับเครื่องของเรา และ run โปรแกรมนั้น ก็จะทำให้เครื่องแบบตั้งโต้ะ มีความสามารถเท่ากับ Super Computer ทีเดียวโดยสรุป Telnet มีประโยชน์คือการใช้ไปใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นการค้นและโอนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ แม้จะต่างระบบการตรวจเมล์ (E-Mail) หรือบริการอื่นๆ กรณีที่ต้องใช้เครื่องอื่น โดยเฉพาะในระบบ Text Modeบริการค้นข้อมูลข้ามเครือข่ายเนื่องจากมีความพยายามที่จะจัดตั้งระบบ เข้าถึงElectronic Library หรือห้องสมุดเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จึงมีการพัฒนาระบบดังกล่าว เพื่อทำเมนูในการค้นคว้า หาข้อมูลที่ต้องการ ได้แก่Archieเป็นวิธีการแบบง่าย ในการที่จะค้นหาสารสนเทศ ในลักษณะของ anonymous ftp พัฒนาจากมหาวิทยาลัย Mc Gill ใน Montreal ประเทศแคนาดา โปรแกรมนี้เป็นความพยายามอันแรก ที่จะใช้ระบบ Internet เป็น Catalog เพื่อเก็บและเผยแพร่ข้อมูล สารสนเทศบนเครือข่าย คุณสามารถส่งคำถาม ไปยังเครื่องที่บริการด้วย E-mail และเครื่องบริการก็จะตอบคำถามกลับมาGopherพัฒนาจากมหาวิทยาลัย Minnesota เป็นวิธีการซึ่งสามารถที่จะค้นหา และ รับข้อมูลแบบง่าย บน Internet โดยไม่ยุ่งยาก และสามารถรับข้อมูลได้หลาย แบบ เช่น ข้อความ เสียง หรือภาพ Gopher นั้น ทำงานผ่านเครือข่ายโดยอัตโนมัติ โดยมีตัวให้บริการ อยู่ทั่วไปบน Internet แต่ละตัวให้บริการ จะเก็บข้อมูลของตนเอง รวมถึงการเชื่อมโยงไปยังตัวให้บริการอื่นๆ ในการ Gopher ด้วย Gopher nameVeronicaมาจากคำว่า Very Easy Rodent-Oriented Net-oriented Index to Computerized Archives ซึ่งพัฒนาจาก มหาวิทยาลัยแห่ง Nevada ซึ่งจะใช้การค้นหาด้วย Key Word ในทุกๆ ตัวให้บริการ และทุกๆ เมนู หรือเรียกอีกแบบหนึ่งได้ว่า เก็บดัชนีของทุกๆ ตัวให้บริการ ไว้ที่ VeronicaWAISมาจากคำว่า Wide Area Information Sever สามารถใช้โปรแกรมนี้ ในการค้นหาแหล่งข้อมูล โดยใช้ภาษาแบบปกติ ไม่ต้องใช้โปรแกรมภาษาพิเศษ หรือภาษาของฐานข้อมูลในการค้น WAIS ทำงานโดยการรับคำร้อง ในการค้นและเปรียบเทียบ ในเอกสารต้นฉบับว่าเอกสารใด ตรงกับความต้องการ และส่งรายการทั้งหมดมายังผู้ที่ต้องการบริการค้นข้อมูล World Wide Webการนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอินเทอร์เน็ตลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเองด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet."The Web is a Graphical Hypertext Information System.การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูล ที่สามารถเรียก หรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดูThe Web is Cross-Platform.The Web doesn't care about user-interface wars between companies, such as UNIX, Windows 3.11, Windows 95, Windows NT, System 6/7 of Macintosh. ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้The Web is Distributed.The information is distributed globally across thousands of different sites. ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหน ที่สามารถต่อเข้า ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต จึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกลThe Web is interactive.The Web is interactive by nature. การทำงานบนเว็บ เป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผล ผ่านเบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเองการใช้โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องมีโปรแกรมลูก หรือ Browser ที่สามารถทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นภาพ หรือข้อมูลแบบต่างๆ โปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ MS Internet Exploror, Mosaic, Netscape, Cello เป็นต้น
เขียนโดย อมรรัตน์ เรืองเดช ที่
2:27 ก่อนเที่ยง 0 ความคิดเห็น

ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู (ภาษาอังกฤษ)


การสอบถามประวัติส่วนตัว
What's your name?Is your name (Somsak)?Who are you ?Are you (Vichai)?
คุณชื่ออะไรคุณชื่อ(สมศักดิ์)ใช่ไหมคุณเป็นใครคุณคือ(วิชัย)ใช่ไหม
How old are you?What's your age?When were you born?What's your date of birth?
คุณอายุเท่าไหร่คุณเกิดเมื่อไหร่วันเดือนปีเกิดของคุณ
เมื่อไหร่
Family How many people are there in your family?How many brothers and sisters do you have?Are you married?How many children have you got?

ในครอบครัวคุณมีกันกี่คนคุณมีพี่น้องทั้งหมดกี่คน
คุณแต่งงานหรือยัง
คุณมีบุตรไหม
Job What do you do?What's your job?What's yo
ur occupation?What are you?
คุณทำงานอะไรคุณมีอาชีพอะไรคุณเป็นอะไร
Income How much is your salary?How much is your income per month?How much is your wage per day?How much (salary/wage) do you get?
เงินเดือนของคุณเท่าไหร่รายเดือนของคุณเดือนละเท่าไร คุณได้ค่าจ้างวันละเท่าไรคุณมีเงินเดือนเท่าไร
Address Where do you live?Where's your house?What's your address?
คุณอยู่ที่ไหนบ้านคุณอยู่ที่ไหนที่อยู่ของคุณคือที่ไหน

การทักทาย

Greeting People
Hello. / Hi.
Good morning.
Good morning. (bis 12 Uhr) / Good afternoon.
Good evening .
Introducing People
What's your name?
My name is …
I am …
Haven't we met (before)?
Yes, I think we have.
No, I don't think we have.
I think we've already met.
I don't think we've met (before).
This is …
Meet …
Have you met …?
Yes, I have.
No, I haven't.
Yes, I think I have.
No, I don't think I have.
Hello, … (name)
Nice to meet you. (informal)
Pleased to meet you.
How do you do? (formal)
Nice to see you.
Nice to see you again.
Say Goodbye
(It was) nice meeting you.
Good bye.
Bye. / See you.